พระราชทานอภัยโทษ “บรรยิน” รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์

Author:

จากกรณีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 จากประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2567  ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป

 

โดยหนึ่งในนักโทษระดับบิ๊กเนมที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษได้แก่ นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับอภัยโทษ พ้นโทษทันที ไม่ต้องรอถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 เนื่องจากเป็นผู้ถูกคุมประพฤติ ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามมาตรา 3 ของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2567 ฉบับนี้

พระราชทานอภัยโทษ บรรยิน รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์

จากนั้นนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ต้องราชทัณฑ์ที่เข้าข่ายได้ประโยชน์จากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ มีทั้งกลุ่มได้ลดวันต้องโทษ กลุ่มพักโทษ กลุ่มกักขังแทนค่าปรับและ กลุ่มที่ได้พ้นโทษ ซึ่งจะมีการทยอยปล่อยตัวและดำเนินการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกากำหนดภายใน 120 วัน

พระราชทานอภัยโทษ บรรยิน รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์

และหนึ่งในนักโทษที่ได้รับการอภัยลดโทษ คือ นายบรรยิน ตั้งภากรณ์ นักโทษคดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์ ได้อภัยลดโทษจากประหารชีวิต เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต

พระราชทานอภัยโทษ บรรยิน รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์พระราชทานอภัยโทษ บรรยิน รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์

นอกจากนี้ยังมีนักโทษระดับบิ๊กอีกหลายคนที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ อภัยลดโทษในครั้งนี้ เช่น กลุ่มคดีจำนำข้าว นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือเสี่ยเปี๋ยง และพวกเข้าข่ายได้ลดวันต้องโทษ เหลือโทษน้อยลง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ ได้ลดวันต้องโทษด้วย

พระราชทานอภัยโทษ บรรยิน รอดประหารชีวิต คดีฆ่าเสี่ยชูวงษ์

สำหรับคดีของนายบรรยิน ก่อนหน้านี้ต้องโทษประหารชีวิตเนื่องจาก นางศิริรัตน์ แซ่ตั๊ง ภรรยาของนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง หรือเสี่ยจืด นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างระดับประเทศ กับพวก และพนักงานอัยการ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีต รมช.พาณิชย์ และอดีต สส.นครสวรรค์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้

คำพิพากษาฎีกา พิพากษายืนให้ประหารชีวิตจำเลย ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)(7) ประกอบมาตรา 83 ฎีกาทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.58 พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ ขับรถยนต์เลกซัส สีดำ หมายเลขทะเบียน ภฉ 1889 กรุงเทพมหานคร โดยมีนายชูวงษ์ แซ่ตั๊ง หรือเสี่ยชูวงษ์ อายุ 50 ปี เพื่อนสนิท นั่งด้านข้าง ก่อนจะไปประสบอุบัติเหตุชนต้นไม้ เป็นเหตุให้เสี่ยชูวงษ์ เสียชีวิต ส่วน พ.ต.ท.บรรยิน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย โดย พ.ต.ท.บรรยิน ให้การกับตำรวจว่า เสี่ยชูวงษ์ ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย จึงอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต เหตุเกิดริมถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ระหว่างซอย 48 กับซอย 50 แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพฯ

ต่อมาภรรยาและบุตรชายของเสี่ยชูวงษ์ พบว่าเสี่ยชูวงษ์โอนหุ้นจำนวน 9.5 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 228 ล้านบาท ให้กับพริตตี้สาวที่อ้างว่ามีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับเสี่ยชูวงษ์ และโบรกเกอร์สาวบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งมูลค่าเกือบ 30 ล้าน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า หญิงทั้งสองคนมีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.บรรยิน ทางครอบครัวเชื่อว่าการเสียชีวิตของเสี่ยชูวงษ์ไม่น่าจะเป็นอุบัติเหตุ แต่คือการฆาตกรรมอำพราง

นอกจากนี้ยังพบพิรุธจากพยานหลักฐานที่ตำรวจสืบสวนสอบสวนได้ เช่น ระยะเวลาในการเดินทางด้วยรถยนต์จากสนามกอล์ฟมาถึงจุดเกิดเหตุ ความเร็วของรถยนต์ขณะชนที่ไม่น่าจะเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบแผลฉกรรจ์ที่ศีรษะของเสี่ยชูวงษ์อีกด้วย

หลังต่อสู้คดีกันมายาวนานหลายปีจนสุดท้าย วันที่ 27 มิ.ย.2567 ศาลอาญาพระโขนงอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา มีคำพิพากษายืนให้ประหารชีวิตจำเลย ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4)(7) ประกอบมาตรา 83 ฎีกาทุกข้อของจำเลยฟังไม่ขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *