สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า มนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนในกองทุนประสังคม เมื่อถึงยามเกษียณก็จะได้รับ เงินชราภาพ ซึ่งก็คือเงินที่สะสมจากการทำงาน หรือเงินที่ถูกหักสะสมค่าประกันสังคมในทุกๆ เดือน จำนวน 5% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ตั้งแต่ 250-750 บาท
โดยมีเงื่อนไขการเกิดสิทธิ เมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และได้ลาออกจากงาน สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนหรือเสียชีวิต ส่วนจะได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญกรณีชราภาพนั้น ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน
โดยในส่วนของ “เงินบำเหน็จชราภาพ” คือ เงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับเป็นเงินก้อน ส่วน “เงินบำนาญชราภาพ” คือ เงินที่ผู้ประกันตนจะได้รับรายเดือนไปตลอดชีวิต
กรณีเงินบำนาญชราภาพ
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
ผู้ประกันตนที่รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับจากเดือนที่มีสิทธิได้รับบำนาญให้จ่ายบำเหน็จแก่ทายาท เป็นจำนวนเท่ากับเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตายคูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับบำนาญถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน
ตัวอย่างการคำนวณ หากผู้ประกันตนทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถขอรับเงินบำนาญชราภาพได้ โดยมีวิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ เป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้อัตราเงินบำนาญ 20%
ส่วนที่ 2 และในปีที่ 16 – ปีที่ 20 (5 ปี) จะได้รับอัตราเงินบำนาญ เพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อปี
รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี จะได้ 20% + 7.5% = 27.5%
ดังนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 15,000 บาท คือ 4,125 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
กรณีบำเหน็จชราภาพ (จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว)
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่จ่ายในกรณีชราภาพ เฉพาะส่วนของผู้ประกันตนเพียงฝ่ายเดียว
ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหน
สำหรับรายละเอียดของการรับเงินสงเคราะห์บุตรมีดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39
จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์